“7 เคล็ดลับการเขียนบทความวิชาการ”
ในยุคของของความรวดเร็วทางวิชาการและการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายทั่วโลก นักวิชาการต้องพัฒนาตนเองทั้งหลักวิชาการและการสื่อสารสังคม การเขียนบทความวิชาการที่ดีและรวดเร็วนั้นไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป วันนี้เรามีเทคนิคมาแนะนำว่าเพื่อนๆ ควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้างหากต้องการให้บทความออกมาดี ไปดูกันเลยค่ะ…
- เป็นพหูสูต อ่านมาก ฟังมาก และวิเคราะห์ให้มากตามไปด้วย
การมีแนวคิดในการเขียนบทความวิชาการจะต้องมีบรรยากาศและแรงกระตุ้นให้เกิดการเขียน ซึ่งเป็นแรงขับภายในที่สืบเนื่องจากภาวะล้นของความรู้ (Knowledge Overload) ถ้าอยู่ในบรรยากาศเดิมๆ เช่น ทำงานประจำ สอนหนังสือ กลับบ้าน อยู่กับสิ่งเดิมๆ ไม่ได้เจอความท้าทายเลย ก็ไม่อาจที่จะหาแนวคิดดีๆ หรือแรงบันดาลใจในการเขียนได้ แนะนำให้เพื่อนๆ ลองเปลี่ยนบรรยากาศ ลองออกไปเจออะไรใหม่ๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจดูนะคะ - พยายามตัดสิ่งรบกวนในการเขียนบทความวิชาการ
อย่างที่เรารู้กันดีว่าสิ่งรบกวนต่างๆ นั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เราทำงานไม่สำเร็จ เช่น การจัดกลุ่มเมาท์มอย การจัดกลุ่มกิน การทำงานโดยไม่เรียงลำดับความสำคัญ การทำอะไรที่ตามกระแส อยากให้เพื่อนๆ ยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งรบกวน พยายามมีสติและทบทวนงานวิชาการ จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำ โดยมุ่งมั่นกับบทความให้เต็มที่ เมื่อทำสำเร็จแล้วจึงให้รางวัลแก่ตัวเองด้วยการทำสิ่งอยากทำ จะช่วยให้เพื่อนๆเขียนบทความเสร็จได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ค่ะ - มีความรู้ที่มากพอและลึกซึ่งในงานวิชาการที่ตัวเองสนใจ
การเขียนบทความดีๆ มักเริ่มต้นจากการอ่านบทความดีๆ เช่นกัน อ่านไป วิเคราะห์ไปด้วย เพราะการอ่านแบบวิเคราะห์วิจารณ์จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้และนำไปสู่การสร้างโจทย์วิจัยของตนเองได้ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วก็จะต้องนำข้อค้นพบมาเขียนเป็นบทความเผยแพร่ต่อไปได้ ดังนั้นการอ่านแบบวิเคราะห์วิจารณ์จะช่วยให้เพื่อนๆ มีสกิลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเขียนบทความวิชาการนั่นเองค่ะ - การเขียนบทความต้องเข้าใจง่ายตามหลักวิชาการ
เราเชื่อว่ามีเพื่อนๆ หลายท่านอาจจะเป็นกังวลกับการเขียนอยู่แน่นอน ว่าจะผิดไหม จะซ้ำซ้อนหรือเปล่า บทความจะดูจะล้าสมัยไปหรือไม่ และอีกหลายร้อยเหตุผล ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้คนทั่วไปมักจะไม่ยอมเขียนบทความ การเขียนบทความนั้นเป็นทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนา ช่วงแรกอาพบเจอปัญหา เขียนมากก็ผิดมาก แต่ให้เพื่อนๆ รู้ไว้เสมอว่ายิ่งเขียนมากก็ยิ่งเรียนรู้มากขึ้นตามด้วย ดังนั้นหากเพื่อนๆ เขียนมากก็ย่อมเก่งขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ - เรียนรู้การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการเขียนบทความ
การที่จะทำให้การเขียนบทความวิชาการง่ายขึ้นนั้นก็มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้โปรแกรมและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ การพยายามเขียนเอง พิมพ์เอง และตรวจสอบก่อนนำเสนอตีพิมพ์ ในทุกขั้นตอนล้วนมีตัวช่วยอยู่แล้ว เพื่อนๆ อย่าลืมที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีนะคะ - หาบรรยากาศที่ดีในการสร้างแรงบันดาลใจในการเขียน
เพราะเราต่างทราบกันดีว่างานเขียนนั้นจำเป็นต้องใช้สมาธิเป็นอย่างมาก จะต้องขัดเกลาทั้งเนื้อหาและภาษาเป็นอย่างดี อีกทั้งต้องมีเวลากับการเขียนอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้เพื่อนๆ หาสถานที่ที่มีความเงียบ สงบ ปลอดโปร่ง และสะดวกสบายเพื่อเพิ่มบรรยากาศที่ดีในขณะทำงานค่ะ - ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
ลงมือเขียนบทความได้แล้ว!!! อย่ามัวแต่อ่านอย่างเดียว ไปค่ะ ไปเริ่มลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มเร็วย่อมดีกว่าเสมอค่ะ อย่ากังวลว่าจะทำไม่ได้ ทำได้ไม่ดี ลองลงมือทำและฝึกฝนไป จะต้องมีวันที่เพื่อนๆ พัฒนาจนเขียนออกมาได้ดีอย่างแน่นอนค่ะ
หวังว่าหัวข้อนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะคะ หากเพื่อนๆ ติดปัญหาในการเขียนบทความสามารถมองหาตัวช่วยได้ค่ะ อย่าง Researcher Thailand เองก็มีบริการในการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการนะคะ หรือเพื่อนๆ ที่สะดวกทำเองก็สามารถที่จะลองลงมือทำและฝึกฝนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทำมันออกมาได้สำเร็จ ในทุกปัญหาจะมีทางออกให้เสมอค่ะ ลองหาทางของตัวเองดูนะคะ:)