การวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ศึกษาทางด้านกายภาพ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเทคนิคเฉพาะ มีความเชื่อในสิ่งที่เป็นธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล ประกอบด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อาจจะมีทั้งการวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงทดลอง
- การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสังคม ทำให้การวิจัยประเภทนี้มีอย่างกว้างขวางและค่อนข้างยืดหยุ่น เนื่องจากมีข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นในบางกรณี จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการในการวิจัยในแต่ละขั้นตอน โดยองค์การ UNESCO แบ่งการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ ออกเป็น 5 สาขาใหญ่ ๆ คือ
2.1 มนุษย์ศาสตร์ ได้แก่ วิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนศาสตร์ อักษรศาสตร์
2.2 การศึกษา ได้แก่ วิชาทางการศึกษา พลศึกษา
2.3 วิจิตรศิลป์ ได้แก่ วิชาทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การวาดภาพ วาทศิลป์ การละคร
2.4 สังคมศาสตร์ ได้แก่ วิชาการธนาคาร พาณิชศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วารสารศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ สถิติ
2.5 นิติศาสตร์ ได้แก่ วิชาเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
นอกจากนี้อาจจะแบ่งตาม ระเบียบวิธีวิจัย เป็นวิธีการเพื่อการได้มาซึ่งคำตอบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ข้อความรู้ใหม่โดยมีขั้นตอนที่ชัดเจนมีระบบการตรวจสอบเพื่อสามารถอธิบายผลที่ได้อย่างมีเหตุมีผล น่าเชื่อถือนำไปใช้อ้างอิงได้